สถานที่ท่องเที่ยว

อำเภอกุดจับ | เชิงธรรมชาติ

วนอุทยานภูหินจอมธาตุ จ.อุดรธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มีจุดเด่นอยู่ที่หินจอมธาตุ ซึ่งมีลักษณะคล้ายจอมธาตุ สูงจากพื้นประมาณ 20 เมตร และทิวทัศน์บริเวณลานหิน สามารถมองเห็นเขื่อนห้วยหลวง และตัวจังหวัดอุดรธานีด้วย

ประวัติความเป็นมา
วนอุทยานภูหินจอมธาตุ จัดตั้งขึ้นตามคำสั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) โดยกำหนดให้ป่าอนุรักษ์ (โซนซี) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากุดจับ ท้องที่ตำบลกุดจับ ตำบลขอนยูง ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับและตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ ให้เป็นวนอุทยานภูหินจอมธาตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การศึกษาวิจัยทางวิชาการ การพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปและเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับอยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหารแหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะภูมิประเทศภูเขาหินทราย สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200-550 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำห้วยหลวงมีลำห้วยไหลผ่าน คือ ห้วยยาง และห้วยเชียง ไหลลงสู่เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี

ลักษณะเด่น
ลักษณะเด่นของพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ประกอบด้วย สวนหินรอยพระบาท อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานภูหินจอมธาตุ ประมาณ 800 เมตร มีลักษณะเป็นภูเขาหินทราย เป็นที่ราบบนสันเขาภูพานน้อย มีทัศนียภาพโดยรอบที่สวยงาม มีพื้นที่สวนหิน ค้นพบประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยว เช่น รอยพระพุทธบาท ถ้ำพรหมวิหาร ต้นประชุมสงฆ์ ถ้ำตาปาแดง แอ่งแม่ฮังเหย บ่อน้ำซำกกเม็ก และลาดแข้ เป็นต้น หินจอมธาตุ มีลักษณะเป็นภูเขาที่เกิดจากการเปลี่ยนแลงทางธรณีวิทยา ลักษะคล้ายจอมธาตุที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธา และบริเวณแห่งนี้ ยังสามารถชมทัศนียภาพของเขื่อนห้วยหลวง ตัวจังหวัดอุดรธานี และภูฝอยลมได้อย่างชัดเจน ศาลปู่ เป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตวนอุทยาน สามารถชมทิวทัศน์ได้หลากหลายรอบทิศทาง ค้นพบโดยสื่อท้องถิ่น คือ Home Cable TV รายการสัมปะปิ จึงเรียกชุดชมวิวบนศาลปู่ว่าจุดชมวิวสัมปะปิ ซึ่งสามารถมองเห็นภูเขาหลังศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู เขื่อนห้วยหลวง ทิวทัศน์หมู่บ้านรอบแนวเขตวนอุทยานได้อย่างชัดเจน ถ้ำลม เป็นจุดที่สามารถชมวิวทัศน์ของป่าไม้ ขุดเขาได้สวยงามที่สุด มีลักษณะเป็นช่องเขาจึงมีลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา สิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบไฟฟ้า ระบบประปา ห้องสุขา มีลานแคมป์ไฟ มีที่จอดรถเพียงพอ ขณะนี้ยังไม่มีบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว หากมีการพักค้างแรมเป็นกลุ่มใหญ่ ขอให้นำเต้นท์และเครื่องนอนไปเอง ซึ่งทางวนอุทยานมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและอำนวยความสะดวกตลอด 24 ชั่วโมง

อำเภอโนนสะอาด | เชิงธรรมชาติ

น้ำตกนางริน อยู่เขตตำบลหนองกุงศรี อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เป็นน้ำตกขนาดไม่ใหญ่ อยู่ทางไปวัดถ้ำอินแปลง คนส่วนใหญ่มาเที่ยวน่าจะเป็นวิถีไทบ้าน ไม่เป็นที่รู้จักของคนหมู่มากทำให้พื้นที่ยังมีความเป็นธรรมชาติค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีน้ำตกเพียงช่วงฤดูฝนเท่านั้น  รวมทั้งพื้นที่รอบ ๆ ก็ยังเขียวชะอุ่มสร้างความสดชื่นและเบิกบานใจเป็นอันมาก อากาศเย็นสบายร่มรื่น พื้นที่รอบ ๆ มีดอกไม้ดอกหญ้าขึ้นประปราย ชูช่อน่ารักทักทายผู้คนที่มาเยี่ยมน้ำตกนางรินแห่งนี้

น้ำตกนางริน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ตั้งอยู่บ้านป่าไม้ หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอโนนสะอาด ไหลจากสันภูพานคำ ค้นพบโดยพระครูถาวร ธมมฺโสภณ และชาวบ้านป่าไม้ อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงศรี

 


อำเภอหนองแสง | เชิงธรรมชาติ

สวนพฤกษศาสตร์ภูฝอยลม เดิมชื่อสวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษามหาราชินี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 สร้างขึ้นบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าพันดอน-ปะโค ในท้องที่ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยถูกราษฎรบุกรุกยึดถือครอบครองเข้าไปอาศัยทำกิน จนกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม มีเนื้อที่ประมาณ 64 ตารางกิโลเมตร หรือ 40,000 ไร่ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ภูฝอยลม” เนื่องจากมี ฝอยลม ซึ่งเป็น ไลเคน แสดงให้เห็นว่าในอดีตพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นสูง

อำเภอหนองแสง | เชิงธรรมชาติ

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ 78,125 ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527

วนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ในเขตป่าขุนห้วยสามพาด-ขุนห้วยกองสี อยู่ในท้องที่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน โดยแยกตัวเป็นพืดยาวติดต่อกันออกไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีความลาดชันสูงและค่อนข้างราบบนสันเขา มีลำธารหลายสายไหลลงสู่ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องและห้วยกองสี เฉพาะที่ห้วยวังกุ่มเป็นป่าทึบและรกชัฏ ทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชื่อ "แหลสะอาด" ลักษณะภูมิอากาศของวนอุทยานน้ำตกธารงามแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า เป็นป่าดงดิบและป่าเต็ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ นนทรี มะค่าโมง มะค่าแต้ เต็งดง ยาง เต็ง รัง เป็นต้น และไม้พื้นล่างได้แก่ไผ่ต่าง ๆ หวาย กล้วยไม้เกาะหิน เฟิร์น และต้นข้าวสาร สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง อีเห็น และนกชนิดต่าง ๆ บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก วนอุทยานน้ำตกธารงาม ไม่มีบ้านพักไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตกับหัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงามโดยตรง หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ 10900 แหล่งท่องเที่ยว ห้วยวังกุ่ม ที่ห้วยวังกุ่มซึ่งไหลลงห้วยน้ำฆ้องจะมีน้ำตกธารงามมีน้ำไหลเกือบตลอดปี เหนือน้ำตกธารงามตามลำห้วยขึ้นไปจนถึงขุนจะเป็นโขดหิน หน้าผาและถ้ำที่สวยงามและแปลกตา ด้านทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชาวบ้านเรียกแหลชื่อ "แหลสะอาด" ซึ่งเป็นแหลขนาดใหญ่ ณ จุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้สวยงามและกว้างไกล สถานที่ติดต่อ วนอุทยานน้ำตกธารงาม สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) อ.หนองแสง จ.อุดรธานี

อำเภอน้ำโสม | เชิงธรรมชาติ

มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือน้ำตกยูงทอง ตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง หมู่ 2 ตำบลนายูง เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพาน

อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดินลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียล ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 องศาเซลเซียล ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่าง ๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่าง ๆ จุดชมวิวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง ผาแดงเป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชันมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็ก ๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานฯ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมวิวผาแดง ระยะทางประมาณ 2,000 เมตร ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ - ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ ) - เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ ) - กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จักไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หมายเหตุ: กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก สอบถามข้อมูล ได้ที่สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4232 5406-7

อำเภอสร้างคอม | เชิงธรรมชาติ

    อำเภอสร้างคอมเดิมเป็นที่รู้จักในชื่อ "บ้านส่างคอม" อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี คำว่า "ส้าง" หรือ "สร้าง"ในภาษาอีสาน ออกเสียงเป็น "ส่าง" แปลว่า บ่อน้ำ ส่วน "คอม" คือชื่อต้นไม้
ชนิดหนึ่ง เมื่อตอนสร้างหมู่บ้านประมาณปี พ.ศ. 2441 มีการขุดบ่อน้ำและต้นคอมก็ขึ้นอยู่ริมน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าบ้านส่างคอม ต่อมาจึงปริวรรตวิธีสะกดชื่อไปสู่สำเนียงภาษากลางเป็นบ้านสร้างคอม
เคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี เป็นตำบลเก่าแก่ในจังหวัดอุดรธานี และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อตำบลบ้านสร้างคอม"  

อ่างเก็บน้ำพาน ตั้งอยู่ในอำเภอสร้างคอม ครอบคลุมพื้นที่มากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลสร้างคอม, ตำบลนาสะอาด และตำบลเชียงดา มีพื้นที่รวมกว่า 4,300 ไร่ ถือได้ว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งของภาคอีสาน และภายในอ่างเก็บน้ำยังเป็นแหล่งอาศัยของปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด รอบ ๆ ยังรายล้อมไปด้วยทัศนียภาพของป่าชุมชนที่สวยงาม กลายเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน และเป็นที่เที่ยวอุดรธานีที่นักท่องเที่ยวควรมาเช็กอินสักครั้ง

อำเภอหนองแสง | เชิงธรรมชาติ

ตั้งอยู่ในบึงหนองหาน แหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 36 ตารางกิโลเมตร อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำจำนวนมาก มีระบบนิเวศโดดเด่นและเป็นที่สนใจของนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มาศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ดอกบัวแดงจะเบ่งบานมากที่สุด นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดงบานเต็มผืนน้ำของหนองหานสุดลูกหูลูกตา จึงเป็นที่มาของคำว่า “ทะเลบัวแดง” หากสนใจจะชมทัศนียภาพต่าง ๆ ภายในหนองหาน เช่น พันธุ์นกหรือพืชน้ำ สามารถนั่งเรือเที่ยวชมได้ตลอดทั้งวัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการล่องเรือชมทะเลบัวแดง คือ ระหว่างเวลา 06.00 – 11.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ดอกบัวแดงบาน มีเรือรับจ้างบริการพาชมทะเลบัวแดงและทัศนียภาพในหนองหาน
   โดยขึ้นที่ท่าเรือบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว มีเรือให้บริการทุกวัน เวลา 06.00 – 17.00 น. ใช้เวลานั่งเรือชมหนองหานและทะเลบัวแดงรอบละ 1.30 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลได้ที่ กลุ่มเรือบริการท่องเที่ยวบ้านเดียม โทร. 08 9395 0871เครื่องอำนวยความสะดวก