อำเภอศรีธาตุ
| เชิงวัฒนธรรม
วัดศรีธาตุประมัญชา
เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ราษฎรจากบ้านพันลำได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและหักร้างถางพงได้พบเนินดินร้างซึ่งมีพระธาตุ และมีเสมาหินสลักเป็นรูปดอกบัว ปักเรียงรายอยู่โดยรอบ บนใบเสมายังมีอักษรโบราณจารึกไว้ ๒ แถว ( สูญหาย ) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระภิกษุจากบ้านท่าคันโทได้ธุดงค์มาพบวัดร้างนี้จึงได้อยู่จำพรรษา ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดขึ้นใหม่ ได้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๔
ตามตำนานพื้นบ้านเล่าว่า คนจากนครราด (อาจหมายถึงนครราชสีมา หรือเมืองราด) นำของมีค่า แก้ว แหวน เงิน ทอง ไปช่วยสร้างพระธาตุพนม ที่ภูกำพร้า ครั้นมาถึงบ้านหนองแวงได้ทราบว่า พระธาตุพนมสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่างมีความเสียใจมากที่ไปสร้างพระธาตุไม่ทัน จึงสร้างเจดีย์บรรจุของมีค่าเหล่านั้นไว้ที่ด้านทิศเหนือวัดหนองแวงปัจจุบัน แต่เจดีย์เล็กไปไม่พอบรรจุของมีค่า จึงสร้างอีกองค์ห่างออกไปทางทิศใต้ ประมาณ ๒๐๐ เมตร เพื่อบรรจุสิ่งของที่เหลือ เจดีย์องค์ด้านทิศเหนือถูกขุดหาของมีค่าพังทลายลงหมด เหลือ แต่องค์ด้านทิศใต้ เหลือซากอยู่ที่วัดศรีธาตุประมัญชา ต่อมาชุมชนลาวเวียงเข้ามาอยู่ ได้สร้างวัดขึ้นที่บริเวณ
พระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ เรียกว่า "วัดศรีธาตุประมัญชา"

