อำเภอหนองหาน
แชร์
อำเภอหนองหาน

เมืองหนองหานมีประวัติเชื่อมโยงเกี่ยวกับเมืองสุวรรณภูมิ โดย พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหานคนแรก ต้นสายสกุล "รักษาเมือง" และ "พิทักษ์เขื่อนขันธุ์" ทั้งนี้ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ นามเดิม คือ "ท้าวเพ" เป็นบุตรคนโต ของ ท้าวเซียง หรือ เจ้าเซียง ผู้ดำรงตำแหน่งพระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ท่านแรก และเจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ลำดับที่ ๔ อันสืบเชื้อสาย จากเจ้าแก้วมงคล ผู้มีศักดิ์ เป็นพระราชปนัดดาของพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ลาวพระองค์ที่ 26 แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดย ภายหลัง เจ้าเซียง บิดา ผู้ครองเมืองสุวรรณภูมิ ได้เสียชีวิตลง ในปี พ.ศ. 2330 ท้าวสูน ผู้เป็นน้องชาย ของท้าวเซียง ที่ดำรงตำแหน่ง อุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในขณะนั้น ได้ ครองเมืองต่อ จากพี่ชาย เพื่อสนับสนุนและป้องกันปัญหาการครองเมืองดังในอดีต (ระหว่าง เจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ลำดับที่ 3 กับ ท้าวเซียง เจ้าเมืองท่งศรีภูมิลำดับที่ 4 ที่มี ศักดิ์ เป็น อา และหลาน ) รวมทั้งเป็นเมืองบริวารและป้องกันเมืองสำคัญด้านทิศเหนือ คือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) พระรัตนวงษา(สูน) จึงได้ขอพระราชทานให้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้ง ท้าวเพ ไปตั้งเมืองใหม่ และแบ่งเขตดินแดนทางตอนเหนือของเมืองสุวรรณภูมิ (ภายหลัง เป็นเขตของเมืองร้อยเอ็ดแล้ว)และแบ่งเขตแดนของนครหลวงเวียงจันทน์บางส่วน ให้ ท้าวเพ ได้ปกครอง เมืองสุวรรณภูมิ จึงได้แบ่งไพร่พล ให้ จำนวน 600 คน ไปตั้งเมืองบริเวณเมืองเก่า ขึ้นเป็นเมืองหนองหาน ปัจจุบัน คือ อำเภอหนองหาน และสถานปนาพระยศ ท้าวเพ เป็น "พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์" เจ้าเมืองหนองหาน ท่านแรก ขึ้นกับกรุงเทพ ในปี 2330

 

อาณาเขตของเมืองหนองหานขณะนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2330 เป็นต้นมา ครอบคลุมรวมไปถึงอำเภอเมืองอุดรธานีด้วย กล่าวคือ อาณาเขตเมืองหนองหานทางฝั่งตะวันตกบรรจบกับเขตเมืองเก่าบ้านผือ(ขึ้นกับนครหลวงเวียงจันทน์ ครอบคลุมอำเภอบ้านผือ,อำเภอน้ำโสม,อำเภอนายูง) เขตตอนเหนือบรรจบเมืองเพ็ญ(ครอบคลุมอำเภอเพ็ญ,อำเภอสร้างคอม)ซึ่งขึ้นกับเมืองปากห้วยหลวงของนครหลวงเวียงจันทน์(พื้นที่ของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในปัจจุบัน) จึงกล่าวได้ว่า ในยุคก่อนจะกำเนิดเมืองอุดร พื้นที่เมืองหนองหานครอบคลุมพื้นที่อุดรตอนล่าง ตอนกลางและฝั่งตะวันออก รวมถึงพื้นที่ของอำเภอเมืองอุดรทั้งหมด และกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอหนองหาน,อำเภอเมืองอุดร,อำเภอบ้านดุง,อำเภอกุมภวาปี,อำเภอกุดจับ,อำเภอหนองวัวซอ,อำเภอหนองแสง,อำเภอประจักษ์ศิลปาคม,อำเภอกู่แก้ว,อำเภอศรีธาตุ,อำเภอวังสามหมอ,อำเภอไชยวาน,อำเภอทุ่งฝน,อำเภอพิบูลย์รักษ์ ยกเว้นพื้นที่อำเภอโนนสะอาด (ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 - พ.ศ. 2340 และขึ้นกับเมืองขอนแก่นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2340 ภายหลังจึงถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุดร) ต่อมาภายหลังมีการตั้งเมืองขึ้นใหม่ ได้แก่ เมืองหนองคาย บ้านหมากแข้งหรือเมืองอุดรธานี เมืองกมุทธาสัย และเมืองกุมภวาปี ส่วนกลางจึงมีการโอนพื้นที่เมืองหนองหานเดิมบางส่วนไปให้แก่เมืองดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น[1][2][3][4]

 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2387 ได้มีชาวภูไทเมืองกะป๋อง ( เมืองเซโปน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว )ได้รับการเกลี้ยกล่อมจากทางการสยามให้มาตั้งหลักเเหล่งในพื้นที่ภาคอีสานของสยาม โดยมีท้าวราชนิกูล เป็นผู้นำในการอพยพ ขบวนผู้อพยพได้เดินทาง พักแรม ผ่านเขตเมืองนครพนม สกลนคร ต่อมาได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่อพยพเข้าสู่เมืองสกลนคร เจ้าเมืองและกรมการเมืองสกลนคร์ได้จัดสรรพื้นที่ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชั่วคราว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2390 ครอบครัวและบ่าวไพร่ของท้าวราชนิกุลอัตคัดที่ทำกิน จึงได้พาราษฎรย้ายออกจากเมืองสกลนคร เเละได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหนองหอย ( อำเภอวาริชภูมิ ในปัจจุบัน ) อย่างไรก็ตามทางกรมการเมืองสกลนครได้มาเกลี้ยกล่อมให้ท้าวราชนิกูลพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ท้องที่เดิมในเมืองสกลนคร ท้าวราชนิกุลจึงตอบตกลงยอมพาราษฎรกลับไปอาศัยอยู่ที่เดิม (ในเมืองสกลนคร) จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2419 ท้าวราชนิกุลได้ขอยกบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมืองแต่กรมการเมืองสกลนครไม่ยอมเสนอขึ้นทูลเกล้า ท้าวราชนิกูลจึงให้ท้าวสุพรหม บุตรชายไปร้องเรียนต่อทางราชการ แต่ติดขัดที่กรมการเมืองสกลนครไม่ยื่นเรื่องดำเนินการขอยกบ้านหนองหอยให้เป็นเมือง ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหมจึงอพยพออกจากเมืองสกลนครกลับมาอยู่ที่บ้านหนองหอยตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ.2420 ท้าวราชนิกูลกับท้าวสุพรหม ได้ขอร้องให้พระพิทักษ์เขตขันธ์หรือพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหาน ขอพระราชทานยกฐานะบ้านหนองหอยขึ้นเป็นเมือง เจ้าเมืองหนองหานจึงมีใบบอก กราบบังคมทูลขอตั้งบ้านป่าเป้าเมืองไพรในแขวงเมืองหนองหาน (ไม่ได้ตั้งที่บ้านหนองหอย) เป็นเมืองวาริชภูมิ แล้วให้ท้าวสุพรหม เป็นพระสุรินทร์บริรักษ์ (สุพรหม) เป็นเจ้าเมืองวาริชภูมิขึ้นตรงต่อเมืองหนองหานมานับเเต่บัดนั้น เเต่ต่อมาชาวเมืองวาริชภูมิก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านป่าเป้าเมืองไพรพื้นที่ที่เสนอที่ตั้งเมืองตามใบบอกหากแต่ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านหนองหอย แขวงเมืองสกลนครตามเดิม ในช่วงระยะแรกของเมืองวาริชภูมิ การทำราชการต่าง ๆ จะขึ้นกับเมืองหนองหาน แต่เกิดกรณีพิพาทเขตแดนระหว่างเมืองหนองหาน กับเมืองจังหวัดสกลนครอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากการที่ราษฎรเมืองวาริชภูมิไม่ไปอยู่ในท้องที่ตามตราภูมิเมืองนั้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องตัวเลือกระหว่างเมืองหนองหานและเมืองสกลนคร จนกระทั่งในที่สุด ปี พ.ศ. 2439 พลตรี พระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีคำสั่งให้โอนการทำราชการของเมืองวาริชภูมิไปขึ้นกับเมืองสกลนครเเทน[5]

 

อำเภอหนองหาน เป็นอำเภอเก่ายุคแรกของการตั้งอุดรธานีอำเภอหนองหาน มีประวัติตามตำนานเดิมชื่อ “เมืองหนองหานน้อย” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองหนองหานเคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี เกิดกบถเจ้าสิริบุญสารเวียงจันทน์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ได้เป็นแม่ทัพ ยกไปปราบกบถที่เวียงจันทน์ กองทัพไทยได้เข้าไปตีจนถึงแคว้นเชียงขวางของพวนและสิบสองจุไท ได้เวียงจันทน์ไว้ในอำนาจ พวกพวนได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านแพง และอพยพตามกันมา จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ และได้เปลี่ยนชื่อบ้านดงแพงเป็น “บ้านเชียง” นอกจากลาวพวนที่อพยพมาอยู่เมืองหนองหานแล้วยังมีพวกลาวเวียงและไทอีสานเข้ามาอยู่เมืองหนองหาน จึงเป็นชุมชนใหญ่มาแต่โบราณ ในปี พ.ศ. 2443 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกฐานะเมืองหนองหานน้อยเป็น “อำเภอหนองหาน” โดยมีขุนอภัย บริพัฒน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอหนองหานคนแรก

คำขวัญ: เมืองผักหวาน อุทยานวังใหญ่ น้ำใสไหลหลาก มากด้วยปูปลา ประเพณีล้ำค่า ภูผาป่าสมบูรณ์

 

 

แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอหนองหาน

 

แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอหนองหาน

พิกัด: 17°21′38″N 103°6′20″E

ประเทศ ไทย/จังหวัด อุดรธานี

พื้นที่

 • ทั้งหมด 708.119 ตร.กม. (273.406 ตร.ไมล์)

ประชากร (2565)

 • ทั้งหมด 116,053 คน

 • ความหนาแน่น 163.88 คน/ตร.กม. (424.4 คน/ตร.ไมล์)

รหัสไปรษณีย์ 41130,

41320 (เฉพาะตำบลบ้านเชียง, บ้านยา, หนองสระปลา)

รหัสภูมิศาสตร์ 4106

ที่ตั้งที่ว่าการ ที่ว่าการอำเภอหนองหาน ถนนอุดรธานี-สกลนคร ตำบลหนองหาน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41130

 

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอหนองหานตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิบูลย์รักษ์และอำเภอทุ่งฝน

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน (จังหวัดสกลนคร)

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไชยวาน อำเภอกู่แก้ว และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุดรธานี 






 

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอหนองหานแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 161 หมู่บ้าน

 

1.

 

หนองหาน

 

(Nong Han)

 

17 หมู่บ้าน

2.

 

หนองเม็ก

 

(Nong Mek)

 

20 หมู่บ้าน

3.

 

พังงู

 

(Phang Ngu)

 

15 หมู่บ้าน

4.

 

สะแบง

 

(Sabaeng)

 

9 หมู่บ้าน

5.

 

สร้อยพร้าว

 

(Soi Phrao)

 

11 หมู่บ้าน

6.

 

บ้านเชียง

 

(Ban Chiang)

 

15 หมู่บ้าน

7.

 

บ้านยา

 

(Ban Ya)

 

9 หมู่บ้าน

8.

 

โพนงาม

 

(Phon Ngam)

 

21 หมู่บ้าน

9.

 

ผักตบ

 

(Phak Top)

 

13 หมู่บ้าน

10.

 

หนองไผ่

 

(Nong Phai)

 

12 หมู่บ้าน

11.

 

ดอนหายโศก

 

(Don Hai Sok)

 

10 หมู่บ้าน

12.

 

หนองสระปลา

 

(Nong Sa Pla)

 

9 หมู่บ้าน






 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอหนองหานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

เทศบาลตำบลบ้านเชียง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านเชียง

เทศบาลตำบลหนองเม็ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองเม็ก

เทศบาลตำบลหนองหาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองหาน

เทศบาลตำบลโคกสูง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเม็ก (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองเม็ก)

เทศบาลตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล

เทศบาลตำบลผักตบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักตบทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหาน (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองหาน)

องค์การบริหารส่วนตำบลพังงู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังงูทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลสะแบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะแบงทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้อยพร้าวทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเชียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเชียง (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง)

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยาทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนงามทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหายโศก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนหายโศกทั้งตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสระปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสระปลาทั้งตำบล