อำเภอวังสามหมอ ได้ก่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังสามหมอ เมื่อ พ.ศ. 2518 และได้รับยกฐานะ เป็นอำเภอเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 นาม “ วังสามหมอ ” มาจากตำนานที่ว่า มีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ได้หลงกลืนร่างธิดาของเจ้าเมืองท่าขอนยาง และกลัวความผิดจึงหนีการตามล่ามาอาศัยอยู่ที่วังน้ำใหญ่ ของลำน้ำพันชาด พอเจ้าเมืองได้ข่าวจึงให้หมอจระเข้มาปราบจระเข้ตัวนี้ โดยให้หมอผู้มีเวทย์มนต์มาทำพิธี แต่หมอจระเข้ 2 คนแรก สู้พญาจระเข้ไม่ได้จนต้องสังเวยชีวิต เพราะการที่ใช้หมอจระเข้ถึง 3 คนนี้เอง วังน้ำแห่งนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า “ วังสามหมอ ” และถูกนำมาใช้เป็นชื่ออำเภอในที่สุด
คำขวัญ: เมืองผักหวาน อุทยานวังใหญ่ น้ำใสไหลหลาก มากด้วยปูปลา ประเพณีล้ำค่า ภูผาป่าสมบูรณ์
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอวังสามหมอ
พิกัด: 16°56′59″N 103°25′43″E
ประเทศ ไทยจังหวัด อุดรธานี
พื้นที่
• ทั้งหมด 727.3 ตร.กม. (280.8 ตร.ไมล์)
ประชากร (2565)
• ทั้งหมด 58,538 คน
• ความหนาแน่น 80.48 คน/ตร.กม. (208.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 41280
รหัสภูมิศาสตร์ 4110
ที่ตั้งที่ว่าการ ที่ว่าการอำเภอวังสามหมอ ตำบลวังสามหมอ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 41280
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวังสามหมอ มีพื้นที่ทั้งหมด ๗๐๙ ตารางกิโลเมตร ระยะทางจากจังหวัดอุดรธานี ๑๐๓ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๕๘๐ กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอไชยวาน(อุดรธานี) และอำเภอสองดาว,วาริชภูมิ(สกลนคร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอนิคมน้ำอูน,กุดบาก(สกลนคร) และอำเภอคำม่วง,สามชัย(กาฬสินธุ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอหนองกุงศรี,ท่าคันโท,สามชัย(กาฬสินธุ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอศรีธาตุ,ไชยวาน(อุดรธานี)
พื้นที่การปกครอง
- การปกครองท้องที่ อำเภอวังสามหมอ ได้แบ่งเขตการปกครอง ตามลักษณะปกครองท้องที่ออกเป็น ๖ ตำบล ๗๒ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
๑) ตำบลหนองกุงทับม้า จำนวน ๑๑ หมู่บ้าน
๒) ตำบลหนองหญ้าไซ จำนวน ๙ หมู่บ้าน
๓) ตำบลบะยาว จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน
๔) ตำบลผาสุก จำนวน ๑๘ หมู่บ้าน
๕) ตำบลคำโคกสูง จำนวน ๙ หมู่บ้าน
๖) ตำบลวังสามหมอ จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
- การปกครองท้องถิ่น อำเภอวังสามหมอ ได้แบ่งการปกครองตามเขตพัฒนาท้องถิ่น มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๗ แห่ง ประกอบด้วย
๑) เทศบาลตำบลวังสามหมอ
๒) เทศบาลตำบลลำพันชาด
๓) เทศบาลตำบลหนองหญ้าไซ
๔) เทศบาลตำบลบะยาว
๕) เทศบาลตำบลผาสุก
๖) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงทับม้า
๗) องค์การบริหารส่วนตำบลคำโคกสูง